top of page
Writer's pictureclassyuth

10 ธ.ค.ครบ10ล้านนักท่องเที่ยว เป้าปีหน้า30ล้าน

Updated: Dec 22, 2022

เร่งเครื่องยนต์ท่องเที่ยวฟื้นเศรษฐกิจไทย





เครื่องยนต์ท่องเที่ยวพุ่งปลายปีประคองเศรษฐกิจไทย ททท.ระบุนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย 10 ธ.ค.ครบ 10 ล้านคน เข้าเฉลี่ยช่วงปลายปี วันละ 5หมื่น คน ปี 2566 ตั้งเป้ารายได้การท่องเที่ยวฟื้นเศรษฐกิจ แบบดีสุด 1.5 ล้านล้านบาท จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน และเป้ารวม รายได้ 2.38ล้านล้านบาท

เมื่อรวมนักท่องเที่ยวไทย



นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ด้านการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา กล่าวกับสื่อมวลชนว่า วันที่ 10 ธ.ค.นี้ (วันนี้) ราวช่วงบ่าย นักท่องเที่ยวต่างชาติคนที่ 10 ล้าน จะมาถึง ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาประเทศไทยจะถึงเป้าหมาย 10 ล้านคน


การท่องเที่ยวกำลังเป็นความหวังที่จะช่วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยให้กลับมา เปรียบเทียบกับปี 2561 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ล้านคน การท่องเที่ยวสร้างรายได้ 2 ล้านล้านบาท และมีการจ้างงานในธุรกิจท่องเที่ยวถึง 4 ล้านคน


จากข้อมูลตั้งแต่เริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังโควิด รองผู้ว่าทท.ระบุว่า ในช่วงแรกเป็น

กลุ่มนักท่องเที่ยวระยะใกล้ คือ เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงประเทศไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ แต่นับจากเดือน ต.ค.และ พ.ย. 2565 เป็นต้นมา เป็น

กลุ่มนักท่องเที่ยวระยะไกล โดยเฉพาะจากยุโรปที่เข้ามาประเทศไทย เนื่องจากยุโรปเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว


นัยสำคัญของยอดตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ 10 ล้านคน หมายความ ว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คิดค่าเฉลี่ยใช้จ่าย 5หมื่นบาทต่อคน ต่อการเข้ามา 1 ครั้ง ประเทศไทยจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 5 แสนล้านบาทในปีนี้ นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจากซาอุดิอาระเบีย เข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลในปี 2562 มีนักท่องเที่ยวซาอุเดินทางมาไทย 3.6 หมื่นคน เทียบกับปีนี้เพิ่มเป็น 1 แสนคน และซาอุดิอาระเบียยังมีแนวโน้มความสนใจลงทุนเพราะประเทศไทยมีจุดเด่นด้านธุรกิจบริการ (Hospitality) และด้านสุขภาพ (wellness)


รองผู้ว่าททท. กล่าวว่าสำหรับเป้าหมายเชิงนโยบายตั้งเป้ารายได้ประเทศไทยจากนักท่องเที่ยวต่างชาติปีหน้า(2566) กำหนดไว้ที่ 1.5-1.6 ล้านล้านบาท โดยเน้นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Wellness destination) ที่คนทั่วโลกตื่นตัว ใส่ใจดูแลสุขภาพ และการเสริมสร้างสุขภาพมากขึ้น เช่น อาหารสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน



ก่อนหน้านี้ นับจาก 30 ต.ค.2565 เป็นต้นมา รายงาน ข้อมูล สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวผ่านสนามบิน เฉลี่ย 4.5-5 หมื่นคนต่อวัน การท่องเที่ยวจึงกลายเป็นที่พึ่งของรายได้ในช่วงก่อนสิ้นปี ซึ่งพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมียอดการจองห้องพักสูงเป็นช่วงไฮซีซันปลายปีสอดคล้องกับข้อมูลจากผู้ประกอบการโรงแรมไทยส่วนใหญ่ โดยททท.คาดว่าเดือน พ.ย.และ ธ.ค.จำนวนนักท่องเที่ยวเดินจะทางเข้ามาเดือนละ 1.5 ล้านคน(เฉลี่ยวันละ5 หมื่นคน)


ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (28 ก.ย.65) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ต่อเนื่องถึงปี 2566 ต้องพึ่งพาแรงส่งจากเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้ไว้ที่ 9.75 ล้านคน (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 7.2


ล้านคน ) ดังนั้นในปีนี้มีนักท่องเที่ยวเกินตัวเลขคาดการณ์ โดยล่าสุด ททท.ระบุว่าในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ นักท่องเทียวต่างชาติคนที่ 10 ล้านจะมาถึงประเทศไทยและ ททท.จะจัดกิจกรรมต้อนรับและแจกรางวัลเป็นตั๋วเครื่องบิน ที่พักและแพ็กเกจต่างๆ


ทั้งนี้ส่วนสำคัญมากจาก รัฐบาลคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 โดยยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเข้าประเทศไทย 72 ชั่วโมง และนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้นเมื่อยุโรปเข้าสู่ฤดูหนาว เอื้อต่อเครื่องยนต์เศรษฐกิจการท่องเที่ยว ที่พยุงเศรษฐกิจไทย โดยได้กำหนดเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวปีนี้(2565 )ที่ 7.5-8 แสนล้านบาท


สำหรับในระยาวยาว นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. แถลงว่า ปี 2566 จะเป็นปีแห่งการเริ่มต้นและพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดย ททท. กำหนดทิศทางการตลาด พ.ศ.2566 – 2570 ภายใต้วิสัยทัศน์ “ททท. เป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย ในการสร้างประสบการณ์ทรงคุณค่ามุ่งสู่ความยั่งยืน” ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูในทุกมิติ ตาม วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์หลัก (Strategic Objective) ได้แก่ Drive Demand : มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน Shape Supply : สร้างคุณค่าและยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผ่านการสร้างระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosystem)

ทั้งนี้ ททท. ให้ความสำคัญกับธุรกิจสายการบิน เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากการเพิ่มความจุที่นั่ง (Seat Capacity) ดึงฐานลูกค้าเดิมในพื้นที่ตลาดหลัก คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มที่สามารถออกเดินทางได้ทันที โดยมุ่งกระตุ้นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มคุณภาพกระแสห


ลัก อาทิ กลุ่ม Millennials กลุ่ม Gen X และ กลุ่มสูงวัย Silver-Age-People (SAP) และเจาะตลาดกลุ่มสุขภาพ Health & Wellness กลุ่มท่องเที่ยวเชิงกีฬา กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เที่ยวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงกลุ่มตลาดเฉพาะใหม่ๆ อาทิ กลุ่ม Digital nomad และ กลุ่ม Telework หรือคนรุ่นใหม่ที่ทำงานผ่านระบบดิจิทัล


ใน ปี2566 ททท. กำหนด “เป้าหมายตำแหน่งทางการตลาด” ให้ไทยติดอันดับประเทศที่มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศสูงสุด 1 ใน 5 ของโลก และ วาง “เป้าหมายเชิงเศรษฐกิจ” โดยแบ่งเป็น 3 ฉากทัศน์(scenario) คือ Worst Case , Base Case และ Best Case โดยตั้งเป้าหมายรายได้รวม (ตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ) อยู่ที่ 1.25-2.38 ล้านล้านบาท ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวสำหรับตลาดต่างประเทศอยู่ที่ 11-30 ล้านคน คำนวณค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 50,000-54,000 บาทต่อคน สร้างรายได้ 5.8 แสนล้านบาท-1.5 ล้านล้านบาท และประมาณการตลาดในประเทศ อยู่ที่ 117-135 ล้านคน ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 4,200-4,800 บาทต่อคน สร้างรายได้ 6.7-8.8 แสนล้านบาท

กรณีแย่สุด(worst case)

กลางกลาง(base case)

กรณีดีสุด(best case)

1.25 ล้านล้านบาท

1.73 ล้านล้านบาท

2.38 ล้านล้านบาท


การท่องเที่ยวจากกลุ่มจังหวัดอันดามันแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติและคนไทย เป็นหนึ่งในขุมกำลังสำคัญของเครื่องยนต์การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ หลังจากโควิดระบาด กลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง มีภูเก็ตเป็นจุดหมายหลักก่อนกระจายไปกระบี่ และพังงา โดยรายได้จากกลุ่ม 5 จังหวัดอันดามัน คิดเป็น ร้อยละ 2.6 ของรายได้รวมประเทศ (GDP) ตามข้อมูลบัญชีประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


ทั้งนี้ ก่อนการระบสดของโควิด19 ภาคท่องเที่ยวไทย ในปี 2561 เป็นที่มารายได้หลัก 1ใน5 ของรายได้ประเทศ (ร้อยละ 17-18 ของGDP หรือราว 2 ล้านล้านบาทต่อปี แต่ในช่วงปี 2563 ถึงต้นปี 2565 โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว 10 ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยวสูญเสียรายได้รุนแรง นำไปสู่การผ่อนคลายมาตรการป้องกันเพื่อเปิดรับการเดินทางเข้าประเทศชองนักท่องเที่ยวดังกล่าว


 

7 views0 comments

Comments


bottom of page