เมื่อรัฐไทย คล้ายเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์(C-I-G-Export) สามเครื่องยนต์ติดขัด (กำลังซื้อในประเทศตก การลงทุนไม่มี ,รัฐติดลบ) ต้องบินด้วยเครื่องยนต์เดียวบนเวิ้งฟ้าที่แปรปรวน ผันผวนจากทั้งสงครามในยุโรป ความเสี่ยงจากโควิดและระบบเศรษฐกิจโลกหดตัว โดยเครื่องยนต์เดียวที่เร่งเครื่อง คือ รายได้จากส่งออกและบริการ( การส่งออกและการท่องเที่ยว)ซึ่งค่าเงินดอลล่าร์ที่แข็ง(35-36บาทต่อ๑ดอลล่าร์สหรัฐ) เอื้อต่อเงินจากนีกท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี 2565
ก่อนหน้านี้ ในปี 2561 ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 2.01 ล้านล้านบาท จากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาราว 38.27 ล้านคน รายได้จากการท่องเที่ยว เป็นอันดับ 4 ของโลก ลดลงเหลือเพียง ราว 4 แสนล้านบาท หรือลดลงถึงหนึ่งในห้าช่วงปี 2563-2564 และตั้งเป้าหมายดันรายได้จากการท่องเที่ยวปีนี้ เพิ่มจากเดิมสองเท่า เป็นราว 7.5 -8 แสนล้านบาท
ภาพนักท่องเที่ยวที่แน่นขนัดสนามสุวรรณภูมิในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระบุว่า จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยผ่านสนามบิน เฉลี่ย 4.5-5 หมื่นคนต่อวัน นับจากวันที่30ตค. การท่องเทียวกลายเป็นที่พึ่งและ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันสอดคล้องกับมุมมองของผู้ประกอบการโรงแรมไทยส่วนใหญ่
การผลักดันเพื่อเพิ่มรายได้ท่องเที่ยว ให้ถึงเป้าหมายเดิม ก่อนโควิดระบาด โดยรัฐบาลคลายการควบคุมการเข้าประเทศยกเลิกมาตรการตรวจ RT-PCR ก่อนเข้าประเทศไทย 72 ชั่วโมงในประเทศต้นทาง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565นักท่องเที่ยวทะลักเข้ามาตามลำดับ เมื่อยุโรปเข้าสู่ฤดูหนาว ในเดือนตค.และพย.เกิดภาพนักต่างชาติขาเข้าแน่นสนามบินสุวรรณภูมิ ข้อมูลจากผอ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระบุว่าในเดือนพย. สนามบินสุวรรณภูมิ มีผู้โดยสารขาเข้าเฉลี่ยวันละ4.3หมื่นคน
การเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเครื่องยนต์เศรษฐกิจการท่องเที่ยว ได้กำหนดเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวปีนี้ (2565) ที่ 7.5-8แสนล้านบาท
ภาพรวมรายได้จากการท่องเที่ยวของไทย
ปี | รายได้จากการท่องเที่ยว |
2561 | 2.01 ล้านล้านบาท |
2562 | 1.5ล้านล้านบาท |
2563 | 4.82 แสนล้านบาท |
2564 | 3.84 แสนล้านบาท |
2565 | ตั้งเป้าที่ 7.5-8 ล้านบาท |
รายได้การท่องเที่ยวจากกลุ่มจังหวัดอันดามัน ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติและคนไทย เป็นหนึ่งในขุมกำลังสำคัญของเครื่องยนต์การท่องเที่ยว หลังเศรษฐกิจประเทศไทยกระทบหนักจาโควิดระบาด 2 ปีเศษ
การเชื่อมโยงเครือข่ายถนนให้เกิดการท่องเที่ยวจากฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย มี 2จุดเชื่อมสำคัญ คือชุมพรและสุราษฏร์ธานี โดยการขยายถนนจากสองเลนเป็นสี่เลน จากเส้นทางจากชุมพรมายังระนอง -ผ่านอ.ตะกั่วป่า จ.พังงา มายังภูเก็ต เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเชื่อมกลุ่มจังหวัดอันดามัน ที่กำลังดำเนินการ
จากการสำรวจเส้นทางของThe region เมื่อต้นเดือนพย.2565ที่ผ่านมา พบว่า การขยายถนนสี่เลนช่วงสี่แยกปฐมพร จ.ชุมพร มายังอำเภอเมือง จ.ระนองเชื่อมโยงการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน นั้นการขยายถนนเสร็จแล้ว
ส่วนการขยายจากอ.ตะกั่วป่ามายังท่าเรือคุระบุรี จ.พังงา กำลังดำเนินการก่อสร้าง และจากอ.ตะกั่วป่ามายังแหล่งท่องเที่ยวของชาวสแกนดิเนเวียที่เขาหลักและจากเขาหลักสู่ภูเก็ตมีการขยาย4 เลนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการขยายโครงขยายคมนาคมและท่าเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดอันดามันตามแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในพังงาและระนอง และการกระจายตัวจากเมืองหลักอย่างภูเก็ต สู่4จว.ที่เหลือด้วย( ตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนากลุ่มจว.อันดามัน 2563-65)
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง บนคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตก ทอดตัวเป็นตามแนวเหนือ-ใต้ มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลของมหาสมุทรอินเดียเป็นแนว ยาว 878 กิโลเมตร ภูมิสัณฐานเป็นทิวเขาสูงติดชายฝั่งทะเล โดยมีเกาะริมทวีป (Continental Island) และเกาะขวางกั้น (Barrier Island) กระจายตัวตลอดแนวชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 568 - 828 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 17,688.915 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วย 5 จังหวัด 34 อำเภอ235 ตำบล และ 1,716 หมู่บ้าน ครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นพื้นที่ทางบกและพื้นที่ทางทะเล ตลอดจนเกาะต่างๆ รวมทั้งหมด 412 เกาะ
ก่อนโควิดระบาด ภาคท่องเที่ยวไทยในปี2561เป็นรายได้หลักเกือบ1ใน5 ของรายได้ประเทศ (ร้อยละ๑๗-๑๘ของผลิตภัณฑ์มวลรวม(GDP)ประเทศ)หรือราว 2 ล้านล้านบาทต่อปี
เดิมรัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายรายได้การท่องเที่ยวช่วงปี 2561 – 2565ให้เกิน1ใน5 ( หรือ22 %)ของรายได้ประเทศ(GDP) แต่ในช่วงปี 2563 โควิด-19 กระทบต่อภาคการท่องเที่ยว 10 ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยวสูญเสียรายได้ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวหยุดชะงัก
ข้อมูลอ้างอิง
๑.แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน พศ.2563-65
๒.การแถลง (มค.2565)ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ,รมต.กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา การแถลง (2มค.2562)ผลงานการท่องเที่ยวในรอบปี2561
๓.แผนยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจว.อันดามันปีพศ.2561-64
コメント