20 ปี สึนามิ
สุพิตา เริงจิต
20 ปีหลังภัยพิบัติ ชีวิตในบ้านน้ำเค็มบนปกติสุขที่ยอมรับความเสี่ยง
“เราติดอยู่บนเนินตรงที่เรือสีฟ้าถูกพัดมาเกยตื้น คนแน่นมาก เดินเบียดเสียดกัน เพราะน้ำ ล้อมหมดแล้ว….ดูจากสีหน้าแววตาเขา มันเต็มไปด้วยความกลัวอย่างถึงที่สุด” เรืองฤทธิ์ เรืองเนตร เล่าถึงวันที่เขาอุ้มลูกวัยสองขวบ พาภรรยากับลูกอีกคนวิ่งหนี ‘คลื่นยักษ์’ ที่พัดเข้าถล่มหมู่บ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา หนึ่งในพื้นที่ที่เสียหายมากที่สุดจากสึนามิ ปี 2547
ในเวลาก่อนหน้านั้นไม่นาน ณรงค์ชัย ประดิษฐ์ กำลังขับเรือรับนักท่องเที่ยวข้ามฟากจาก น้ำเค็มมายังเกาะคอเขา แต่ก่อนที่จะรู้ตัวว่าอะไรเกิดขึ้น น้ำจำนวนมหาศาลก็กระแทกลำเรือจนพลิก คว่ำในทันที “เรือตีลังกาหงายท้อง เรือไปทาง คนไปทาง กระจัดกระจายไปหมด”
จากวันนั้นถึงวันนี้ ผ่านมา 20 ปี แต่เขายังจำได้ทุกรายละเอียด โชคดีที่น้ำพัดเขาและ นักท่องเที่ยวอีก 12 คน ขึ้นฝั่งบนเกาะคอเขา ณรงค์ชัยนำทางลูกทัวร์ทั้งหมดวิ่งหนีคลื่นไปทางด้านหลัง เกาะซึ่งเป็นเนินสูง โชคร้ายที่มีนักท่องเที่ยวรายหนึ่งเสียชีวิตด้วยอาการช็อค เมื่อคลื่นลูกที่สองซัดเข้ามา
ณรงค์ชัย ประดิษฐ์ บริการเรือข้ามฟากน้ำเค็ม-เกาะคอเขา
แม้เผขิญกับเหตุการณ์ระทึกขวัญ แต่ณรงค์ชัยกลับมาที่เกาะคอเขาในอีกสองวันถัดมา พบว่า เรือคู่ชีพพังเสียหาย แต่บ้านซึ่งอยู่บนที่สูงปลอดภัยดี หลังได้รับความช่วยเหลือให้มีเรือลำใหม่ เขาดำเนิน ชีวิตกับทะเลต่อไป “ก็ไม่กลัวนะ บ้านของเราอยู่ที่นี่”
แม้จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่สึนามิจัดเป็นภัยพิบัติระดับสูงด้วยอำนาจการทำลายล้าง สึนามิใน มหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ทำให้ผู้คนในสิบแปดประเทศรวมมากกว่า 220,000 คน เสียชีวิตทันที และอีกนับล้านคนไม่มีที่อยู่อาศัย สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิต 5,395 คน มากเป็นอับดับ ที่สี่ รวมทั้งมีผู้สูญหายอีก 3,370 คน ทำให้คาดว่ามีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 8,000 คน และมีผู้บาดเจ็บอีก มากกว่า 8,500 คน ทั้งนี้ยังไม่นับความเสียหายทางเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติ
นับเป็นภัยพิบัติครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ และเป็นความทรงจำที่ยากจะลืมเลือน สำหรับผู้ประสบภัย
นาทีชีวิต
เชื่อได้ว่าผู้ประสบภัยสึนามิเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับคำว่า ‘นาทีชีวิต’
อ๊อด จูดเดช หนึ่งในชาวบ้านน้ำเค็มเล่าว่า บ้านของเธออยู่บริเวณหน้าหาด ไม่ไกลจากบริเวณ ที่เรากำลังนั่งดูหลานของเธอแข่งฟุตบอลชายหาด เดิมบริเวณสนามฟุตบอลเป็นทะเล แต่สึนามิพัดพา ทรายจำนวนมหาศาลเข้ามาถมจนกลายเป็นหาด ในขณะที่พื้นที่ส่วนปลายแหลมของเกาะคอเขาซึ่งอยู่ฝั่ง ตรงกันข้ามถูกพัดหายไปหลายสิิบไร่
จากสนามฟุตบอลมองไปเห็นเกาะคอเขาอยู่ฝั่งตรงกันข้าม
ตอนเกิดเหตุสึนามิเธอกำลังท้องใกล้คลอด “หมอนัดบ่ายโมง สึนามิเกิดตอนสิบโมง ตอนนั้นตรงนี้ ไม่ได้ เป็นหาดแต่เป็นทะเล มีสะพานไม้ยื่นออกไป วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ มีคนมาเล่น มาตกปลา เขาบอก มีน้ำแห้ง ก็ออกมาดู ต่อมาได้ยินเสียงเด็กวิ่งว่อน ก็ออกมาดูอีก ตอนนั้นอยู่กับแม่ แม่จะตัวอ้วน”
เมื่อเห็นคลื่นสูงมาแต่ไกล เธอรีบพาแม่ออกจากบ้าน หวังไปหลบภัยที่บ้านสองชั้นบริเวณข้างเคียง
“คิดว่าไปตรงนั้นอาจจะรอด ดึงมือแม่ไป แต่มาติดตรงบริเวณพื้นหาดต่างระดับ แม่ล้ม แล้วตัวอ้วน ลุกไม่ไหว บอกว่า มึงไป พาลูกมึงไป ตอนนั้นท้องอยู่ จังหวะนั้นน้ำมา ตัวมาติดกับฝาบ้าน ไปต่อไม่ได้ มีเด็กโยนเชือกลงมา บอกป้าขึ้นมา ก็บอกว่า ขึ้นไม่ไหว แต่มีคนหนุ่มๆ เขามาช่วยดันขึ้นไปบนบ้านได้”
ต่อมาอ๊อดได้รับความช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาล แต่เธอกลับไม่ได้คลอดในวันนั้น “หมอบอกว่า ถ้าทนได้ให้ทนนะ เขาจะต้องดูแลคนบาดเจ็บหนักๆ ก่อน คนเต็มโรงพยาบาลเลย ก็อยู่มาได้จนวันที่ 1 กุมภาฯ ถึงคลอด” ปัจจุบันลูกชายที่มีกำหนดคลอดในวันเกิดเหตุ อายุยี่สิบปีกำลังเรียนอยู่ในระดับ ปริญญาตรี
ร่องรอยบ้านที่ความเสียหายจากสึนามที่ยังคงเหลืออยู่
หลังสึนามิผ่านพ้น บ้านของครอบครัวจูดเดชทั้งหลังหายไป เช่นเดียวกับอีกหลายร้อยหลังคาเรือน ในวันนั้น เฉพาะที่น้ำเค็มมีผู้เสียชีวิตมากกว่าหนึ่งพันคน โชคดีที่เป็นวันพระ ดุษฎี จูดเดช ลูกสาวของอ๊อด ไปทำบุญที่วัดน้ำเค็มซึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินสูง จึงรอดปลอดภัย ดุษฎีเล่าว่าแม้จะอยู่ที่สูง แต่คนในวัดก็พากัน วิ่งหนีออกจากพื้นที่ไปทางตลาดบางม่วง เพราะไม่แน่ใจว่าคลื่นจะมาอีกหรือไม่ และจะมาไกลแค่ไหน
ความทรงจำที่หลอกหลอน
ภัยพิบัติที่เกินจินตนาการครั้งนี้ สร้างความหวาดผวาให้ผู้ที่อยู่ในเส้นทางผ่านของสึนามิต่อมา อีกยาวนาน
“อะไรดังก็ผวา ถึงตอนนี้ก็ยังกลัว พอเขาบอกว่าแผ่นดินไหวก็ยังกลัว เมื่อก่อนตีสามตีสี่มีข่าว แผ่นดินไหว ก็หอบลูกหนีกัน… คลื่นสึนามิมันน่ากลัวมาก สูง... ดำ... เหมือนก้อนเมฆ มันยังฝังในใจ”
อ๊อด จูดเดช บรรยายถึง คลื่นในความทรงจำ ซึ่งในงานวิจัย The 2004 Indian tsunami in Thailand: Surveyed run up heights and tide gauge records ระบุความสูงของคลื่นสึนามิที่น้ำเค็มราว 4-15 เมตร
ความน่ากลัวของสึนามิ ทำให้ คำนึง แก้วเกตุทอง ต้องใช้เวลาถึง 4 ปี กว่าจะกล้ากลับมาค้าขาย ริมทะเลอีกครั้ง เดิมเขาประกอบอาชีพขายผลไม้ในตลาดบางเนียง และในวันเกิดเหตุ เขาไปขายของ ตามปกติ
คำนึง แก้วเกตุทอง ร้านโกอ้นซาลาเปา
“ตอนนั้นเห็นพม่าวิ่ง ก็ไปดู คิดว่าตำรวจไล่ แต่เห็นน้ำกำลังมา ก็บอกพี่สาวรีบขึ้นรถ ขับไปฝั่ง ภูเขากันเลย คนเยอะมาก ตอนนั้นได้ช่วยคนด้วย เพราะในรถมีเสื้อผ้าอยู่ ก็ให้กับผู้หญิงสองคนที่โดนคลื่นซัดเสื้อผ้่าไป เวลานั้นกลัวมาก เพราะพังงาไม่เคยมี รู้สึกวูบวาบ กลัว.. รีบกลับบ้านที่ตลาดเก่า และไม่กล้า มาทะเลอยู่ 4 ปี” ปัจจุบันเขาเปลี่ยนมาขายซาลาเปา และกล้าพอที่จะจอดรถขายตรงท่าเรือข้ามฟาก น้ำเค็ม-เกาะคอเขา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป้ายเตือน ‘พื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ’
ฉี กล้าทะเล และ ทนต์ กล้าทะเล ชาวมอแกลนในหมู่บ้านน้ำเค็ม
ในขณะที่ ทนต์ กล้าทะเล ซึ่งเป็นชาวเลกลุ่มมอแกลน ตัดสินใจเลิกอาชีพประมง ไม่ลงเรือหาปลา อีกเลย นับจากวันเกิดเหตุ “วันนั้นผมหาปลาอยู่ในคลอง มีน้ำดันเข้ามา แต่ผมวิ่งขึ้นที่สูงได้ทัน วิ่งมาติด บนเนิน มองไปอีกทีน้ำล้อมรอบหมดแล้ว ไปไหนไม่ได้ คนเลยมารวมอยู่ที่เดียวกัน ผมจำได้แค่นี้ เหมือน ช็อคไปเลย ทำอะไรไม่ถูก ตอนนั้นถือปลาที่ตกได้อยู่ครึ่งถุง วิ่งไปที่วัด กลับมาหาบ้านไม่เจอ แล้วคิดได้ ว่าอ้าวจะเอา ปลามาทำไม บ้านก็ไม่มีแล้ว ก็ทิ้งเลย แล้วไปเที่ยวหาลูกกับเมีย มาเจอกันที่เนิน พากัน ออกไปที่วัด” เขาเปลี่ยนอาชีพมาทำงานรับจ้างทั่วไป “ไม่กล้าออกทะเลแล้ว นึกถึงเหตุการณ์นั้น เราเป็น
ห่วงลูกเมีย ยังกังวลอยู่ ไม่รู้มันจะเกิดอีกเมื่อไหร่”
ส่วน ฉี กล้าทะเล เครือญาติของทนต์ บอกว่า เธอไม่อยากจะนึกถึงเรื่องสึนามิ เพราะมันน่ากลัว และชวนให้สะเทือนใจ เดิมเธอเคยทำอาชีพประมง แต่ปัจจุบันเหลือเพียงซากหัวเรือที่เธอเก็บรักษาไว้ เป็นสัญญลักษณ์ว่า ครั้งหนึ่งเธอเคยทำมาหากินอยู่กับทะเล
สิ่งที่ไม่รู้จัก
ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายหนัก สืบเนื่องมาจากในเวลานั้นความรู้และการเตือนภัยสึนามิ ยังอยู่ในระดับจำกัด และประเทศไทยไม่เคยเจอภัยพิบัติชนิดนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ ไม่มีแม้แต่ชื่อที่ จะเรียกสิ่งที่เกิดขึ้น นอกจากเรียกตามลักษณะว่า ‘คลื่นยักษ์’ ผู้ประสบภัยในวันนั้นอยู่ในภาวะ ตื่นตระหนก ไม่ทราบว่าตนเองกำลังเผชิญกับอะไร
เรืองฤทธ์ เรืองเนตร เจ้าของร้านอาหารในบ้านน้ำเค็ม
เรืองฤทธิ์ เรืองเนตร และครอบครัวกำลังรับประทานอาหารในบ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากหน้าหาด น้ำเค็ม ประมาณหนึ่งกิโลเมตร “ตอนนั้นผมกำลังนั่งทานข้าวอยู่กับพื้น ได้ยินเสียงพื้นดินดังตึ้ม ตึ้ม แต่วันนั้นฟ้ากับแดดสดใสมากเลย เป็นเช้าที่สดใสไม่มีวี่แววว่าจะเกิดสึนามิหรืออะไร ผมมองออกไป เห็นทั้งรถ ทั้งคนเต็มถนนหน้าบ้าน ไฟก็เร่ิมติดๆ ดับๆ พอเหลือบไปดูที่หลังบ้าน ตรงคลองบางม่วง เห็นน้ำดำๆ หมุนม้วนมากับถนน ผมก็พาครอบครัววิ่งออกมาหน้าถนน”
เขาอุ้มลูกสาววัย 2 ขวบ พาภรรยาและลูกสาวคนที่สองวิ่งออกจากบ้าน ด้วยความตกใจ ลืมแม้ กระทั่งว่า บ้านพ่อที่อยู่ไม่ไกล เป็นตึกสองชั้นใช้หลบภัยได้ ทั้งหมดวิ่งมาติดอยู่บนเนิน ซึ่งต่อมามีเรือ อวนดำขนาดใหญ่สีฟ้าถูกพัดขึ้นมาเกยตื้น
เรืออวนดำสีฟ้าและสีส้ม ที่ถูกพัดมาไกลจากทะเลราว 2 กิโลเมตร ขึ้นมาเกยตื้น
ได้รับการประกอบขึ้นใหม่ และเก็บรักษาไว้หน้าพิพิธภัณฑ์สึนามิ บ้านน้ำเค็ม
“สักพักก็มีน้ำขึ้น จนล้อมเนินกลายเป็นเกาะ แล้วเรือสีฟ้าก็ลอยมากับน้ำ ตกใจมาก มันลำใหญ่ มาก จากนั้น สักพักน้ำก็แห้ง จึงพากันอพยพต่อ สภาพหลังน้ำลด ก็คือมีคนนอนหมดแรง บางคนอาเจียน น้ำดำๆ ออกมา ถนนตอนนั้นสัญจรไม่ได้แล้ว มีข้าวของ เสาไฟฟ้า อะไรต่างๆ ระเกะระกะ”
ส่วนลูกชายซึ่งไม่ได้อยู่ในบ้าน ถูกน้ำพัดลอยไปติดอยู่บนหลังคาและโชคดีที่ปลอดภัย “ผมมองไป ที่ต้นนุ่น เห็นคนเกาะอยู่เต็มบนนั้น” เรืองชัยเล่า และว่า “ตอนนั้นยังไม่มีใครรู้จักสึนามิ เราก็คิดว่าเอ๊ะ มันเกิดอะไรขึ้น ทุกอย่างวุ่นวายไปหมด วิ่งมาก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร มาอยู่บนเนนได้ยินคนพูดว่าคลื่นยักษ์ ก็นึกขึ้นได้ ตอนนั้นมีหนังกำลังลงโรงอยู่” ในเวลานั้นภาพยนตร์ภัยพิบัติ The Day After Tomorrow ซึ่งมี ‘ภาพจำ’ เป็นคลื่นยักษ์ถล่มเทพีเสรีภาพ กำลังฉายโฆษณาในโทรทัศน์
ไม่ใครคาดคิดว่าต้องไปอยู่ในฉากภาพยนตร์ที่เคยเห็น
“ตอนที่ติดเกาะตรงเรือสีฟ้า คนแน่นมาก เดินเบียดกันไปมา เพราะน้ำล้อมหมดแล้ว แต่ผมก็ พยายามคุมสติ ดูแลลูก ถ้าผมไม่อยู่ลูกก็น่าจะสูญหายไปแล้ว เพราะตอนวิ่ง จำได้เลยมีรถโดนน้ำพัดไป ถนนมีแต่รถออก ไม่มีรถเข้า มีคนวิ่งอยู่บนถนน รถก็ชนไปบ้าง เพราะตอนนั้นรถเยอะ ต่างคนต่างออก ดูจากสีหน้าแววตาคนที่เขาวิ่งกันมา มันเป็นความกลัวถึงที่สุด”
คราววิกฤตไม่มีสิ่งใดสำคัญกว่าชีวิต
สุคนธ์ แตงอ่อน อยู่ที่บ้านทุ่งละออง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ฝั่งตรงกันข้ามกับบริเวณ บ้านทุ่งดาบ เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นจุดที่มีคลื่นสูงที่สุดถึง 19 เมตร ส่งผล ให้หมู่บ้านทุ่งดาบพังทลายทั้งหมด ส่วนบ้านทุ่งละอองเสียหายไม่มากนัก เนื่องจากมีเกาะพระทองบังอยู่
สุคน แตงอ่อน อดีตชาวประมงในบ้านทุ่งออง
ตอนนั้นสุคนธ์อยู่ที่บริเวณสะพานท่าเรือไปเกาะพระทอง “เห็นคลื่นสูงมากเท่ายอดไม้ ก็วิ่งมาขอ ขึ้นร คนที่ผ่านมา เขาถามว่าแล้วรถเราอยู่ไหน ก็บอกว่าอยู่หัวสะพาน นึกได้ว่าไม่ได้เอารถมา วิ่งทิ้ง มอเตอร์ไซค์ มาแต่ตัว ตอนนั้นน้ำทะลักเข้ามาในคลอง เรือจับหมึก เครื่องมือจับปลาถูกพัดขึ้นไปติดถึง เขาด้านหลัง เชื่อไหมไม่ได้เอาเงินไปเลย ข้าวของต่างๆ ด้วย”
หลังจากนั้นสุคนธ์หยุดหากุ้งปลาไปนานหลายเดือน “เดิมใช้เรือลำเล็กหากุ้ง หาปลา หาเคย หลังเกิดสึนามิ กุ้งเคยหมดไปเลย นานหลายเดือนจึงหาได้อีก ไม่กล้าไปหาด้วย กลัว”
อรษาและ สุรศักดิ์ กำมะหยี่
ในหมู่บ้านเดียวกัน อรษา และ สุรศักดิ์ กำมะหยี่ เปิดร้านขายของชำอยู่ในหมู่บ้านห่างจากทะเล ประมาณหนึ่งกิโลเมตร เวลานั้นทั้งสองเพิ่งมีลูกชายคนแรกอายุราวหนึ่งขวบ “คนที่เขาออกเรือหาปลามา บอกว่า มีคลื่นยักษ์ให้รีบหนี ก็ไม่เชื่อขับมอเตอร์ไซค์ออกไปดูู ว่าจริงไหม พอเห็นคลื่นมาดำมืด สูงมาก.. ก็รีบกลับบ้าน พาลูกหนีออกไป ไม่ได้เอาอะไรออกมาเลย ได้แต่ตะกร้านมลูกอย่างเดียว”
สุดท้ายเรายังคงอยู่ที่นี่
ขวัญชนก แก้วแกม เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวและอาหารตามสั่ง บริเวณสะพานท่าเรือบ้านทุ่งละออง เล่าถึงประสบการณ์ในฐานะผู้ประสบภัยว่า “วันนั้นขับรถพ่วงไปขายก๋วยเตี๋ยว ผิดสังเกตุเห็นคนออกจาก หมู่บ้านเรื่อยๆ เขาบอกว่า มีคลื่นยักษ์ ให้ออกไป ใจก็คิดว่า ถ้าเป็นคลื่นยักษ์ทุกอย่างต้องถูกพัด ไปหมดแน่ๆ พี่ก็ไม่ออก ห่วงแฟนกับลูกและมีพ่อด้วย จนกระทั่งเห็นแฟนกับลูกนั่งรถกะบะออกมา เขาบอกว่า พ่อไม่ยอมออกมา พี่ก็ขับสามล้อตามไป แล้วไปทิ้งไว้ที่สวนปาล์ม สามล้อมันช้า อาศัยรถกะบะ ต่อไปที่ตัวอำเภอคุระบุรี ที่นั่นคนเยอะมาก ร้องไห้กันระงม...ที่คว้าทันก็ทัน.. ที่ไม่ทันก็คือไป.. มีแต่ ความเสียหาย ตอนนั้นสถานการณ์ค่อนข้างลำบาก อาหารก็ยังไม่มาก คิดขึ้นมาว่าเราน่าจะเอารถ ก๋วยเตี๋ยวมา อย่างน้อยก็จะได้ทำกินกัน เพิ่งขายไปได้แค่สองชาม”
“ได้สัมผัสกับตัวเอง ที่เราเคยเห็นในทีวี ที่เรียกว่าผู้ประสบภัยเราเคยเห็นแต่เขา มาเจอกับตัวเอง มันเศร้า มันรันทด มีแต่คนเสียชีวิต ทำให้เศร้าไปหมด สำหรับพี่สิ่งต่างๆ ต้องเจอกับตัวเอง คนอื่นบอก ก็ไม่เหมือนเจอเอง ไม่ว่าเรื่องอะไร”
ขวัญชนก แก้วแกม ขายก๋วยเตี๋ยวและอาหารตามสั่งบริเวณท่าเรือข้ามฟากทุ่งออง-เกาะพระทอง
กว่าจะได้กลับมาเอารถก๋วยเตี๋ยวพร้อมกับขอร้องแกมบังคับให้พ่อออกจากหมู่บ้าน ก็อีกสองวัน ต่อมา จากนั้นเธออพยพไปอยู่กับญาติที่ตะกั่วป่า ราวเดือนจึงกลับมาอีกครั้ง และเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่ความยิ่งใหญ่ของสึนามิ ทิ้งรอยไว้ในความทรงจำ
“มันฝังใจ กว่าจะมาเหมือนเดิม มันไม่ง่าย กลับมานอนบ้าน ก็นอนไม่ได้ ไม่กล้านอน กลัว ไม่กล้าหลับตา ช่วงนั้นในหมู่บ้าน แม้แต่เสียงเพลงยังไม่มีเลย เป็นเดือนสองเดือน มันเงียบ มันหดหู่ ไม่มีใครอยากฟัง เงียบกริบเลย ช่วงนั้นอยู่ๆ เดี๋ยวก็มีข่าวเรื่องคลื่นยักษ์ ก็พากันวิ่ง มีกระเป๋า มียา เตรียมไว้เลย มันฝังใจ แต่หลังๆ เรายอมรับกับมันได้ เขาประกาศแผ่นดินไหว พี่ก็ไม่กลัวแล้ว”
สุดท้ายขวัญชนกก็กลับมาขายก๋วยเตี๋ยวที่ทุ่งละอองเช่นเดิม และเมื่อเร็วๆ นี้ เธอเปลี่ยนมาเช่าร้าน ขายก๋วยเตี๋ยวริมทะเล “คลื่นยักษ์ เป็นเรื่องใหญ่มากในชีวิตที่เคยเจอ ทำให้เราต้องระวังตัวมากขึ้น และดูแลธรรมชาติด้วย เราก็ต้องอยู่ให้ได้ สึนามิทำให้เรารอบคอบขึ้น เพราะเราอยู่กับทะเล และอย่างไร เราก็ต้องอยู่ตรงนี้ จะไปอยู่ที่อื่นไม่ได้หรอก ตรงนี้เป็นบ้านเกิดของเรา”
ประสาร เหมาะสว่าง บริการเรือข้ามฟากน้ำเค็ม-เกาะคอเขา
เช่นเดียวกัน ประสาร เหมาะสว่าง ยังคงปักหลักอยู่ที่เกาะคอเขาอันเป็นบ้านเกิด ในวันเกิดเหตุ สึนามิ เขาต้องหอบลูกอ่อนที่เพิ่งเกิดได้ 5 วัน และภรรยาที่อยู่ในระยะฟักฟื้น วิ่งหนีคลื่นและอพยพจาก เกาะไปยังที่พักเพื่อผู้ประสบภัย อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านพ้นช่วงวิกฤต เขากลับมาประกอบอาชีพกับทะเล เช่นเดิม “ไม่กลัวเพราะไม่รู้ว่าจะไปไหน” ประสารให้เหตุผล
ก้าวผ่านเพื่อเดินหน้าและจดจำเพื่อรับมือ
ช่วงทศวรรษ 2520 ยุคเหมืองแร่ในทะเล ชุมชนบ้านน้ำเค็มเติบโตอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจการเงิน สะพัด ดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศมายังหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้ ตามมาด้วยธุรกิจการประมงพาณิชย์และ
การท่องเที่ยว หลังตลาดแร่ดีบุกซบเซาลง
เพียงไม่ถึงสองชั่วโมง สึนามิทำลายหมู่บ้านน้ำเค็มอย่างสมบูรณ์ มีผู้เสียชีวิตกว่าหนึ่งพันคน บ้านเรือน พังทลายกว่าร้อยละ 90 เรือประมงทั้งเล็กและ ใหญ่ กว่า 400 ลำเสียหาย น้ำเค็มเหลือเพียงซาก ปรัก หักพัง ชุมชนแตกสลายไป ก่อนที่จะได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อีกครั้ง
หลังจากการฟื้นฟู ชุมชนค่อยกลับคืนมาตามลำดับ ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ต่างหาหนทางของตนเอง ที่จะก้าวพ้นจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ หลายคนกลับมาอยู่ที่น้ำเค็มอีกครั้ง โดยยอมรับการอยู่ร่วมกับความเสี่ยงภัย
อ๊อด และ ดุษฎี จูดเดช กับลูกชาย ซึ่งเล่าว่าเขารู้จักสึนามิ และรู้ว่าต้องวิ่งหนีไปทางเดียวกับแม่
“เดิมทำประมงและเลี้ยงปลาในกะชัง เจอสึนามิก็เหมือนมานับศูนย์ใหม่ เมื่อก่อนเรามีเรือ มีอะไร การค้าขายในน้ำเค็มก่อนนี้ก็ดีมาก คนเยอะ พอเกิดสึนามิ คนก็แยกย้ายกันไปหมด” อ๊อด จูดเดช เล่า ปัจจุบันเธอเปิดร้านขายข้าวแกงที่บ้านใหม่บริเวณหน้าวัดน้ำเค็ม ซึ่งเป็นที่สูง แทนบ้านเดิมบริเวณ ชายหาด โดยเตรียมพร้อมเสมอกับภัยพิบัติ
“ ครอบครัวอื่นไม่รู้นะ แต่ที่บ้านจะรู้หมดว่าต้องระวังตัวของเราอย่างไร ต้องเตรียมพร้อมทุกอย่าง ถ้ามีเหตุอะไรขึ้น นอนอยู่เอามือไปสะกิด ลุกขึ้นปุบปับพร้อมหมด แม้แต่เด็กเล็กๆ อย่างหลาน เราเตรียม เอกสาร ยา ไฟฉายใส่กระเป๋าไว้ และทุกวันไม่ว่าใครทำอะไรอยู่ที่ไหน พอราวหนึ่งทุ่มถึงสองทุ่มต้องเข้า บ้าน เพราะเราอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ที่บ้านมีรถพ่วงจะเติมน้ำมันไว้พร้อม หันหัวรถออกทางถนน เตรียมทุก อย่างมาจนทุกวันนี้ ยี่สิิบปีแล้ว”
ในทำนองเดียวกัน เรืองฤทธิ์ เรืองเนตร กลับมาเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวในน้ำเค็มได้ราว 5 ปีแล้ว เขาเล่าว่า เตรียมพร้อมตลอดเวลา เพราะ “ไม่รู้ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ สึนามิจะมาเมื่อไร เราเตรียมพร้อม ไม่ประมาท มีเอกสารใส่กระเป๋าไว้ในรถ แต่พวกเสื้อผ้า ข้าวของ ถ้ามาจริงๆ เราก็สละไป เราห่วงชีวิต มากกว่า...ก็สอนลูกนะ ให้ระวังไว้บ้าง อย่าประมาท เราต้องคอยฟังข่าว ตรงหน้าบ้าน มีหอเตือนภัย ทุกวันพุธแปดโมงเช้า เขาจะเปิดเพลงชาติ เพื่อตรวจความพร้อมของการส่งสัญญาณ”
หอเตือนภัยสึนามิที่บ้านน้ำเค็ม
หายนะภัยครั้งใหญ่จากสึนามิในปี 2547 นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เและเปลี่ยนแปลงวิถี การ รับมือภัยพิบัติทั่วโลก เพื่อการป้องกันและรับมือกับสึนามิได้ดีกว่าเดิม ในประเทศไทยมีทุ่นเตือนภัย สึนามิ 2 ทุ่น คือ ทุ่นระยะไกล สถานี 23401 ห่างจาก จังหวัดภูเก็ต 965 กิโลเมตร สามารถเตือนภัยล่วง หน้า 1 ชั่วโมง 45 นาที และ ทุ่น ระยะใกล้ สถานี 23461 ห่างจากจังหวัดภูเก็ต ไปทางตะวันตก ประมาณ 340 กิโลเมตร สามารถแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า 45 นาที
ยายกับหลานที่สวนอนุสรณ์สึนามิ บ้านน้ำเค็ม
“สึนามิ คลื่นยักษ์” เสียงยายพูดกับหลานเล็กๆ ที่สวนอนุสรณ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม ทุกวันมีทั้ง ชาวไทยและ ชาวต่างชาติเข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ เพื่อเก็บรับเรื่องราวในวันนั้น ในเวลานี้ไม่มีใคร ไม่รู้จักสึนามิและ อำนาจในการทำลายล้างของภัยพิบัตินี้
ในระหว่างความพยายามก้าวผ่านความทรงจำด้านลบอันเนื่องจากภัยพิบัติของผู้ประสบภัย อนุสรณ์สถาน พิพิธภัณฑ์ ตลอดจนพิธีกรรมหวนรำลึกถึงเหตุการณ์สึนามิที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ไม่เพียงช่วยให้พื้นที่กับความทรงจำในอดีตอย่างเหมาะสม ยังเป็นหลักประกันความปลอดภัยจาก ภัยพิบัติของชุมชนในอนาคต
ภาพเขียนหายนะจากสึนามิที่บ้านบางเนียง ใน อนุสรณ์สถานสึนามิ เรือตรวจการณ์ หมายเลข 813 (บุเรศผดุงกิจ)
บ้านบางเนียง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
“ภัยพิบัติจะมาเยือน เมื่อถูกลืมเลือนจากความทรงจำ” คำพูดของเทราดะ โทราฮิโกะ(Terada Torahiko) นักธรณีฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ยังคงทรงพลังด้วยน้ำหนักของความจริง เราไม่สามารถหยุดยั้ง ภัยธรรมชาติได้ ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติ มากขึ้นในอนาคต ความรู้และประสบการณ์จากการเผชิญสึนามิ อาจเป็นแต้มต่อทั้งในระดับบุคคลและ สังคมสำหรับการเผชิญกับวิกฤติ รวมถึงภัยพิบัติที่เราอาจไม่เคยรู้จัก
ภาพเขียนหายนะจากสึนามิที่บ้านบางเนียง ใน อนุสรณ์สถานสึนามิ เรือตรวจการณ์ หมายเลข 813 (บุเรศผดุงกิจ) บ้านบางเนียง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
“ภัยพิบัติจะมาเยือน เมื่อถูกลืมเลือนจากความทรงจำ” คำพูดของเทราดะ โทราฮิโกะ(Terada Torahiko) นักธรณีฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ยังคงทรงพลังด้วยน้ำหนักของความจริง เราไม่สามารถหยุดยั้ง ภัยธรรมชาติได้ ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติ มากขึ้นในอนาคต ความรู้และประสบการณ์จากการเผชิญสึนามิ อาจเป็นแต้มต่อทั้งในระดับบุคคลและ สังคมสำหรับการเผชิญกับวิกฤติ รวมถึงภัยพิบัติที่เราอาจไม่เคยรู้จัก
____________________________________________________________________
ขัอมูลจากการสัมภาษณ์
อ๊อด (62 ปี) และ ดุษฎี จูดเดช 38 ปี บ้านน้ำเค็ม ตะกั่วป่า พังงา
ณรงค์ชัย ประดิษฐ์ 51 ปี บ้านน้ำเค็ม ตะกั่วป่า พังงา
ประสาร เหมาะสว่าง 55 ปี บ้านน้ำเค็ม ตะกั่วป่า พังงา
เรืองฤทธิ์ เรืองเนตร 64 ปี บ้านน้ำเค็ม ตะกั่วป่า พังงา
ทนต์ กล้าทะเล อายุ 57 ปี บ้านน้ำเค็ม ตะกั่วป่า พังงา
ฉี กล้าทะเล อายุ 64 ปี บ้านน้ำเค็ม ตะกั่วป่า พังงา
คำนึง แก้วเกตุทอง 49 ปี ตลาดใหญ่ ตะกั่วป่า พังงา
อรษา กำมะหยี่ อายุ 47 ปี บ้านทุ่งละออง คุระบุรี พังงา
สุรศักดิ์ กำมะหยี่ อายุ 49 ปี บ้านทุ่งละออง คุระบุรี พังงา
สุคนธ์ แตงอ่อน อายุ 74 ปี บ้านทุ่งละออง คุระบุรี พังงา
ขวัญชนก แก้วแกม อายุ 49 ปี บ้านทุ่งละออง คุระบุรี พังงา
ข้อมูลอื่นๆ
ครบรอบ 20 ปีสึนามิ ทุ่นเตือนภัยไทยพร้อมยัง ?
ย้อนรอย สึนามิ 2547 คลื่นยักษ์ซัดไทย เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
อนุสรณ์สถานสึนามิ เรือตรวจการณ์ หมายเลข 813 (บุเรศผดุงกิจ) บ้านบางเนียง
อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
พิพิธภัณฑ์สีนามบ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
Comentarios